...::: เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการสร้างทางรถไฟ :::...
ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ค.ศ. 1891
ในปี ค.ศ. 1887 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชดำริว่า ชาติตะวันตกกำลังขยายอาณาเขตแสวงหาเมืองขึ้น ทรงพระราชวิตกว่า จะกระทบกระเทือนถึงราชอาณาจักรไทยด้วย จึงทรงปฏิรูปแก้ไขรูปแบบการปกครอง รวมทั้งการเงิน การคลัง กฎหมาย ไฟฟ้า ไปรษณีย์โทรเลข รถไฟ การพยาบาล สาธารณสุข รวมถึงการพัฒนาในด้านต่าง ๆ อีกมากมาย เพื่อให้รุดหน้าทัดเทียม ซึ่งในการนี้ต้องอาศัยชาวตะวันตกที่ชำนาญการในด้านต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนชาวตะวันตก โดยเฉพาะแถบตรอกโอเรียนเต็ล สุรวงศ์ บางรัก สีลม สาทร บ้านทวาย จึงทำให้เกิดความต้องการทางด้านสาธารณูปโภคที่ทันสมัย ตามมาตรฐานของชาวตะวันตกเพิ่มขึ้น
|
|
...::: พระสังฆราช ชอง หลุยส์ เวย์ :::... |
...::: แมร์กังดีด :::... |
ดังนั้นเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1895 ฯพณฯ พระสังฆราชชอง หลุยส์ เวย์ (Mgr. Louis Vey) ผู้แทนพระสันตะปาปาประจำราชอาณาจักรสยามในเวลานั้น จึงได้มีหนังสือถึงคุณแม่กังดีด (Mère Candide) เจ้าคณะภาคตะวันออกไกล ซึ่งประจำอยู่ที่ไซ่ง่อน ความตอนหนึ่งว่า...
"ที่กรุงเทพฯ ซึ่งพลเมืองนับถือศาสนาพุทธทั้งหมด จำเป็นต้องตั้งโรงพยาบาลสำหรับชาวยุโรปขึ้น
และบุคคลผู้มีอิทธิพลในเมืองนั้นได้เรียกร้องให้มีนักบวชหญิงมาปฏิบัติงาน
ทางมิสซังเสนอให้ที่ดินและจะเป็นผู้ออกค่าก่อสร้าง"
...::: คณะเซอร์กลุ่มแรก ๆ กับบรรดาเด็กกำพร้า ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ :::...
หลังจากนั้น 3 ปี บรรดาเซอร์ทั้ง 7 ท่าน ที่ได้รับเลือกให้ปฏิบัติพันธกิจนี้ คือ :
1. เซอร์อิกญาส เดอ เยซู
2. เซอร์โดนาเซียน
3. เซอร์คามิล เดอ เยซู
4. เซอร์เซราฟิน เดอ มารี
5. เซอร์เอดมองค์
6. เซอร์เออแชน ดู ซาเครเกอ
7. เซอร์ชอง แบร์ฆมันส์ |
ทั้งหมดได้ออกเดินทางจากไซง่อน เมื่อวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 1898 (เวลานั้นศูนย์กลางของคณะอยู่ที่ประเทศเวียดนาม) และเดินทางถึงเมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1898 เพื่อมาปฏฺิบัติงานในสยาม ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ ริมคลองสาทร
ซึ่งได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1898
...::: อาคารในสมัยแรกเริ่มของโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ :::...
โดยในระยะแรกนั้น มี นายแพทย์ อา ปัวซ์ (Dr. A. Poix) เป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแห่งนี้
นับว่าได้นำการแพทย์แผนปัจจุบันสู่ประเทศสยามได้ ทำงานกันอย่างเสียสละโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย ให้การรักษาพยาบาลโดยไม่เลือกชาติ ศาสนา นายแพทย์ปัวซ์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
ให้เป็นแพทย์ประจำราชสำนัก และภายหลังได้เป็นพระยาอัศวินอำนวยเวท
ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของคณะเซอร์ปอล เดอ ชาร์ตรในดินแดนสยามแห่งนี้ |